soppong

ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรวจเยี่ยมติดตามโครงการแม่ฮ่องสอนโมเดลรูปแบบถนนดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในถิ่นทุรกันดาร

ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรวจเยี่ยมติดตามโครงการแม่ฮ่องสอนโมเดลรูปแบบถนนดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในถิ่นทุรกันดาร และยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ในพื้นที่ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.30 น. ที่โบสต์คริสต์ บ้านกึ๊ดสามสิบ ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายเอกวิทย์ มีเพียร ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการแม่ฮ่องสอนโมเดลรูปแบบถนนดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในถิ่นทุรกันดารและยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง และโทรคมนาคมจังหวัดแม่ฮ่องสอน บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นอนุกรรมการแผนพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ 2566 – 2570 ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาด้านการสื่อสารในชุมชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อยกคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำด้านสังคมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีนายวีระพงษ์ รัตนศรี นายอำเภอปางมะผ้า ให้การต้อนรับ นายจักรินทร์ ไวยเขตกรณ์ โทรคมนาคมจังหวัดแม่ฮ่องสอน นำเสนอที่มาของโครงการ มีหัวหน้าส่วนราชการ ประกอบด้วย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน พาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน (เกษตรที่สูง) ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้แทนวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน นายสุริยัน ปัญญา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง นายณรงค์เดช อัมพร ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง นายเสรี แพร่ทอง รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง กำนันตำบลสบป่อง ผู้ใหญ่บ้านกึ๊ดสามสิบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ติดตามการดำเนินการขยายสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่บ้านกึ๊ดสามสิบ ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมรับฟังข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานตำบลสบป่อง ข้อมูลด้านการศึกษาข้อมูลการเฝ้าระวังการแจ้งเตือนภัยธรรมชาติ ข้อมูลด้านการเกษตร ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำการเกษตร ข้อมูลด้านการเศรษฐกิจ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในพื้นที่ โดยโครงการดังกล่าว ดำเนินการขยายสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล ก่อให้เกิดประโยชน์จากการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก ได้แก่ ด้านการศึกษา ใช้ในการเรียนการสอน ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต , ด้านสาธารณสุข ใช้ในการติดต่อสื่อสารในการรักษา สอบถามอาการโรคต่างๆ จากโรงพยาบาลหลัก การรักษาผ่านระบบ telemedicine การส่งต่อคนไข้อาการหนักให้กับโรงพยาบาลประจำจังหวัด , ด้านสังคม สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารกับญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นต่างประเทศ การส่งและรับข้อมูลข่าวสารสะดวกมากขึ้น , ด้านการสร้างรายได้แก่ชุมชน ในการติดต่อค้าขายกับบุคคลภายนอกในรูปแบบออนไลน์ การรับและการจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ รวมทั้งเพิ่มความสะดวกในการลงทะเบียนสวัสดิการภาครัฐ หรือโครงการอื่นๆของรัฐบาล เพิ่มความเสถียรในการดำเนินการ และเพิ่มความสะดวกแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น