soppong

ด้านที่ 3 การบริหารงานการเงินและการคลัง

  • หน่วยที่ 1 การจัดเก็บรายได้
    • 53. มีการออกข้อบัญญัติองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด จัดเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากการค้าน้ำมัน ยาสูบ และผู้เข้าพักในโรงแรม
      • 1. ให้ตรวจสอบจากข้อบัญญัติ อบจ. เพื่อจัดเก็บรายได้ทั้ง 3 ประเภท
      • 2. สำเนาใบเสร็จรับเงินที่แสดงว่าได้มีการจัดเก็บ
    • 54. การรายงานสถิติการคลังท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ 2562 ภายในระยะเวลาที่กำหนด สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
      • ตรวจสอบจาก วัน/เดือน/ปีที่ อปท.ได้รายงานข้อมูลสถิติการคลังปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ผ่านระบบฐานข้อมูลกลาง อปท. (INFO) ซึ่งต้องรายงานภายในวันที่ 31 ต.ค. 2562 และระบบฐานข้อมูลกลางจะปิดระบบการรายงานภายในวันที่ 1 ธ.ค. 2562
    • 55. การประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์และวิธีการ จัดเก็บภาษี
      • 1. ให้ตรวจสอบจากการประชาสัมพันธ์ การจัดเก็บภาษีในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Line ฯลฯ เว็บไซต์ จดหมายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ หอกระจายข่าว/เสียงตามสาย/หน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ และจดหมายแจ้งผู้เสียภาษีโดยตรง เป็นต้น
      • 2. มีการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ของ อปท. โดยให้ทีมประเมินฯ ตรวจสอบในเชิงประจักษ์ (เปิดดูจากเว็บไซต์จริงในวันตรวจประเมินฯ)
    • 56. จำนวนผู้ชำระภาษีและค่าธรรมเนียมบำรุง องค์การบริหารส่วนจังหวัดจากน้ำมัน, ยาสูบ และผู้เข้าพักในโรงแรมต่อจำนวนผู้ที่อยู่ในข่ายต้องชำระโดยรวมในปี 2562
      • ตรวจสอบจากทะเบียนคุมผู้ชำระภาษีทั้งหมด โดยนับจำนวนผู้ที่อยู่ในข่ายต้องชำระภาษีและค่าธรรมเนียมทั้งหมด กับจำนวนผู้ที่ได้ชำระภาษีและค่าธรรมเนียมในปี 2562
    • 57. การเพิ่มขึ้นของจำนวนเงินภาษีและค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดจากน้ำมัน, ยาสูบ และผู้เข้าพักในโรงแรมโดยรวม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
      • ตรวจสอบจำนวนเงินที่จัดเก็บได้จากรายรับจริงประกอบงบทดลองปีงบประมาณ 2561 และ 2562 ของภาษี 3 เรื่อง (ภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ และค่าธรรมเนียมจากผู้พักในโรงแรมแล้วนำมาคำนวณเพื่อเปรียบเทียบ) ประกอบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
    • 58. การเพิ่มขึ้นของจำนวนเงินที่จัดเก็บได้จากค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ รายได้จากการจัดหาประโยชน์ทรัพย์สิน และจากการดำเนินกิจการอื่นโดยรวม ยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากน้ำมัน ยาสูบ และผู้เข้าพักในโรงแรม
      • ตรวจสอบจำนวนเงินที่จัดเก็บได้จากรายรับจริงประกอบงบทดลองปีงบประมาณ 2561 และ 2562 แล้วนำมาคำนวณเพื่อเปรียบเทียบประกอบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
    • 59. มีการออกข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติท้องถิ่น และได้จัดเก็บตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ.2535
      • มีการออกข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติท้องถิ่น และได้จัดเก็บตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ.2535
    • 60. การรายงานสถิติการคลังท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ภายในระยะเวลา ที่กำหนดสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
      • ตรวจสอบจากวัน/เดือน/ปีที่ อปท.ได้รายงานข้อมูลสถิติการคลังปีงบประมาณ 2562 ผ่านระบบฐานข้อมูลกลาง อปท. (INFO) ซึ่งจะต้องรายงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ต.ค. 2562
    • 61. การประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บภาษี
      • 1. ให้ตรวจสอบจากการประชาสัมพันธ์ การจัดเก็บภาษีในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Line ฯลฯ เว็บไซต์ จดหมายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ หอกระจายข่าว/เสียงตามสาย/ หน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ และจดหมาย แจ้งผู้เสียภาษีโดยตรง เป็นต้น
      • 2. มีการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ของ อปท. โดยให้ทีมประเมินฯ ตรวจสอบในเชิงประจักษ์ (เปิดดูจากเว็บไซต์จริงในวันตรวจประเมินฯ)
    • 62. การจัดทำแผนที่แม่บทเพื่อจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
      • 1. การจัดทำแผนที่แม่บทให้ตรวจสอบจากโครงการจัดทำแผนที่ภาษีฯ ของ อปท. โดย อปท. อาจจะจัดทำแผนที่แม่บทครอบคลุม ทั้งพื้นที่หรือเพียงบางส่วนของพื้นที่ก็ได้
      • 2. กรณี อปท. ได้จัดทำด้วยระบบมือ และระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ถือว่าได้คะแนนในข้อนี้
      • 3. กรณี อปท. จัดทำด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LTAX GIS) ของ สถ. หรือด้วยโปรแกรมของหน่วยงานอื่น ให้ตรวจสอบการจัดทำแผนที่แม่บทในแต่ละขั้นตอนจากโปรแกรมฯ นั้นฯ ซึ่งจะต้องปรากฏข้อมูลแผนที่แม่บท ตามขั้นตอนที่ (1) – (4)
    • 63. ผลการคัดลอกข้อมูลที่ดิน เพื่อจัดทำแผนที่แม่บทเพื่อจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
      • 1. ในการคัดลอกข้อมูลที่ดิน อปท.ต้องขอถ่ายเอกสารในสารบบที่ดิน (ทด.1 ทด.9 นส.5) หรือพิมพ์จากระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (LIS) ของสำนักงานที่ดินแล้วคัดลอกข้อมูลที่ดินลงในแบบสำรวจข้อมูลที่ดิน (ผ.ท.1) ทุกแปลง และกำหนดรหัสแปลงที่ดินตามแผนที่แม่บทที่จัดทำเสร็จ
      • 2. การตรวจสอบว่า อปท. มีจำนวนแปลงที่ดินจำนวนกี่แปลง โดยตรวจสอบจากแผนที่แม่บทตามโครงการจัดทำแผนที่ภาษีฯ ของแต่ละ อปท.
    • 64. ผลการสำรวจข้อมูลภาคสนาม เพื่อจัดทำแผนที่แม่บทเพื่อจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
      • 1. การสำรวจข้อมูลภาคสนาม หมายถึง อปท.สำรวจรายละเอียดข้อมูลทรัพย์สินต่าง ๆของประชาชนในพื้นที่ โดยข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินจะบันทึกลงในแบบ ผ.ท.1 ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างจะบันทึกลงในแบบ ผ.ท.2 ข้อมูลเกี่ยวกับป้ายและการประกอบการค้าบันทึกลงในแบบ ผ.ท.
      • 2. การตรวจสอบว่า อปท. มีจำนวนแปลงที่ดินจากข้อมูลแผนที่แม่บท แต่ละแผนตามโครงการจัดทำแผนที่ภาษีฯ ของแต่ละ อปท.
    • 65. การนำทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) และทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5) ไปใช้เป็นข้อมูลในการประเมินภาษี
      • 1. ให้ตรวจสอบว่า ภ.ร.ด.2, ภ.บ.ท.5 และ ภ.ป.1 มีการประทับตราข้อความว่าได้ตรวจสอบกับ ผ.ท.4 และ ผ.ท.5 หรือไม่
      • 2. ให้ตรวจสอบว่า ผ.ท. 5 ของผู้อยู่ในข่ายต้องชำระภาษีว่าได้มีการบันทึกข้อมูลการชำระภาษี (รับยื่นแบบประเมิน และชำระภาษี) และ ได้มีการติดสลิปสีเขียวหรือไม่
    • 66. การปรับข้อมูลทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) ให้เป็นปัจจุบัน
      • 1. ให้ตรวจสอบจากแบบบัญชีแสดงรายการปรับข้อมูล (ผ.ท.13) จากผู้ที่รับผิดชอบจากหน่วยงานคลัง และผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อรับทราบ
      • 2. ให้ตรวจสอบจากทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) ว่ามีการปรับปรุงข้อมูลตามแบบ ผ.ท.13 ตามข้อ 1 หรือไม่ (ข้อสังเกต) หากมีการปรับข้อมูลในทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) จะมีข้อมูลการปรับปรุง ดังนี้
      • 2.1 มีรหัสแปลงที่ดินรหัสใหม่ขึ้นมา เช่น รหัสที่ดินเดิมเป็น 01A001 หากมีการปรับปรุงข้อมูลจะมีรหัสแปลงเพิ่มขึ้นมาเป็น 01A001/001 เป็นต้น
      • 2.2 จะมีการขีดฆ่าข้อความเดิมด้วยปากกา สีแดงและเขียนข้อความใหม่
    • 67. การปรับข้อมูลแผนที่ภาษี (ผ.ท.7) ให้เป็นปัจจุบัน
      • 1. ให้ตรวจสอบจากแบบบัญชีแสดงรายการปรับข้อมูล (ผ.ท.13) จากผู้ที่รับผิดชอบจาก ฝ่ายช่าง และผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อรับทราบ
      • 2. ให้ตรวจสอบจากแผนที่ภาษี (ผ.ท.7) ว่า มีการปรับปรุงข้อมูลตามแบบรายงาน ผ.ท.13 ตามข้อ 1 หรือไม่
    • 68. อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่
      • ตรวจสอบจากทะเบียนคุมผู้ที่ได้ชำระภาษี 3 เรื่อง ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้ายในปีงบประมาณ 2561 และ 2562 แล้วนำมาคำนวณเปรียบเทียบประกอบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
    • 69. อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เสียภาษีค่าธรรมเนียมและใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
      • ตรวจสอบจากทะเบียนคุมผู้ชำระภาษีโดยนับจำนวนผู้ที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ในปี 2561 และ 2562 แล้วนำมาคำนวณ เพื่อเปรียบเทียบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
    • 70. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลูกหนี้ผู้ค้างชำระภาษีเกินกว่า 3 ปี เป็นอัตราร้อยละของผู้ชำระภาษีปีปัจจุบัน
      • ตรวจสอบจากรายละเอียดลูกหนี้ผู้ค้างชำระเกิน 3 ปี เทียบกับรายละเอียดผู้ชำระภาษี (กค.1) หรือทะเบียนลูกหนี้ผู้ชำระภาษี
    • 71. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลูกหนี้ผู้ค้างชำระภาษีลดลงจากปีที่ผ่านมาเป็นอัตรา ร้อยละ
      • ตรวจสอบจากทะเบียนลูกหนี้ผู้ชำระภาษีเกี่ยวกับรายละเอียดลูกหนี้ผู้ค้างชำระปี 2561 กับปี 2562
    • 72. การเพิ่มขึ้นโดยรวมของจำนวนเงินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ของเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล
      • รายรับจริงประกอบงบทดลอง ประจำปีงบประมาณ 2562 ของภาษี 3 เรื่อง (ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย) แล้วนำมาคำนวณเพื่อเปรียบเทียบประกอบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
    • 73. การเพิ่มขึ้นโดยรวมของจำนวนเงิน ค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
      • รายรับจริงประกอบงบทดลอง ประจำปีงบประมาณ 2561 และ 2562 ของค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 แล้วนำมาคำนวณเพื่อเปรียบเทียบ ประกอบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
    • 74. สัดส่วนจำนวนเงินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ ค่าธรรมเนียม และใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ที่จัดเก็บได้โดยรวมต่อจำนวนเงินผู้ที่อยู่ในข่ายต้องชำระภาษีทั้งหมดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
      • จำนวนเงินที่จัดเก็บได้จากรายรับจริงประกอบงบทดลอง ปีงบประมาณ 2562 กับจำนวนเงิน ผู้ที่อยู่ในข่ายต้องชำระภาษีและค่าธรรมเนียมจากทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (กค.1) หรือทะเบียน คุมชำระภาษี (ผท.5) โดยนำมาคำนวณ เพื่อเปรียบเทียบ
  • หน่วยที่ 2 การจัดทำงบประมาณ
    • 79. การตรวจรับพัสดุงานจ้างก่อสร้าง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้างจะต้องตรวจผลงาน ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน
      • 1. ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
      • 2. ใบจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
      • 3. บันทึกรายงานการประชุมสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการเห็นชอบการใช้จ่ายเงินสะสม
      • 4. หนังสือส่งมอบงานของผู้รับจ้าง
      • 5. ใบตรวจรับพัสดุของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้าง
    • 80. การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างโดยผู้ควบคุมงานได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างตามสัญญาในวันกำหนดเริ่มงานและในวันที่กำหนดส่งมอบงานแต่ละงวด โดยได้รับงานว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารสัญญาหรือข้อตกลงและการตรวจรับพัสดุที่เป็นงานจ้างก่อสร้างทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันถึงกำหนดนั้นหรือไม่
      • 1. ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
      • 2. ใบจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
      • 3. บันทึกรายงานการประชุมสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการเห็นชอบการใช้จ่ายเงินสะสม
      • 4. หนังสือส่งมอบงานของผู้รับจ้าง
      • 5. ใบตรวจรับพัสดุของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้าง
    • 81. การตรวจสอบพัสดุประจำปี ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบพัสดุคงเหลือมีตัวตนอยู่ตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่ มีพัสดุใดหมดความจำเป็น ให้แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุและรายงานผลการตรวจสอบต่อผู้แต่งตั้ง ภายใน 30 วันทำการ นับแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุ
      • 1. คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
      • 2. รายงานผลการตรวจสอบพัสดุประจำปี ที่ผู้บริหารท้องถิ่นได้รับทราบแล้ว
    • 82. การประหยัดงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีการจัดซื้อจัดจ้างทุกวิธี และมีเงินเหลือจ่ายจากการจัดซื้อจัดจ้าง
      • 1. ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
      • 2. ใบจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
      • 3. บันทึกรายงานการประชุมสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการเห็นชอบการใช้จ่ายเงินสะสม
      • 4. ฎีกาเบิกจ่ายเงิน (ให้ตรวจฎีกาจริงเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ถ่ายเอกสาร)
    • 83. มีการประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก และสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ กรณีที่ไม่ได้ดำเนินการในระบบ e-GP ประจำปีงบประมาณ 2562 ตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศผล ผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก และสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ดังนี้
      • 1. ลำดับที่
      • 2. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี/เลขประจำตัวประชาชน
      • 3. ชื่อผู้ประกอบการ
      • 4. รายการพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้าง
      • 5. จำนวนเงินรวมที่จัดซื้อจัดจ้าง
      • 6. เอกสารอ้างอิง
      • 7. เหตุผลสนับสนุน
      • ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก
      • การเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ของ ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ และของ อปท. โดยให้ทีมประเมินฯ ตรวจสอบในเชิงประจักษ์ (เปิดดูจากเว็บไซต์จริงในวันตรวจประเมินฯ)
    • 84. กรณีงานซื้อหรือจ้างที่มีวงเงินเกินห้าแสนบาท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ประกาศเผยแพร่ราคากลางตามแนวทางของกรมบัญชีกลางในเว็บไซต์อย่างน้อย 2 เว็บไซต์ขึ้นไปตามแบบและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
      • 1.ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
      • 2. การเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ของ ศูนย์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, ของ อปท. และอื่น ๆ โดยให้ทีมประเมินฯ ตรวจสอบในเชิงประจักษ์ (เปิดดูจากเว็บไซต์จริงในวันตรวจประเมินฯ)
    • 85. การดำเนินการเกี่ยวกับราคากลาง
      • 1.คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
      • 2.รายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
      • 3.เอกสารที่ได้รับการเห็นชอบราคากลางจากผู้บริหารท้องถิ่น
  • หน่วยที่ 3 การบริหารงบประมาณรายจ่าย การจัดทำบัญชี และรายงานการเงิน
    • 86. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เบิกจ่ายเงินงบประมาณในข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2562
      • 1.รายงานรับ – จ่ายเงินสด ประจำเดือน กันยายน 2562
      • 2.ทะเบียนรายรับ – รายจ่าย
      • 3.ฎีกาเบิกจ่ายเงิน
    • 87. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินต่อหน่วยงานคลัง ทุกไตรมาส และเบิกจ่ายเงิน 4 ประเภท (ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง) เป็นไปตามแผนการ ใช้จ่ายเงิน
      • รายจ่ายตามรายงานรับ-จ่ายเงินสดประจำเดือน เมื่อสิ้นปีงบประมาณเปรียบเทียบกับแผน การใช้จ่าย
    • 88. การกันเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม กรณี ยังไม่ก่อหนี้ผูกพันในหมวดครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง เป็นอัตราร้อยละของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
      • รายงานการประชุมสภาท้องถิ่นฯ
      • บันทึกอนุมัติให้กันเงิน กรณีไม่ก่อหนี้ผูกพัน ในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เปรียบเทียบกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
    • 89. การวางฎีกาเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานผู้เบิกอย่างช้าไม่เกิน 5 วัน นับจากวันที่ได้ตรวจรับทรัพย์สินหรือตรวจรับงานถูกต้อง
      • 1.ใบตรวจรับพัสดุ
      • 2.ใบตรวจรับงาน
    • 90. การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ที่มิใช่รายจ่ายประจำ พิจารณาจากการเบิกจ่าย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
      • หลักฐานการเบิกจ่าย หรือสรุปรายงานการเบิกจ่ายภายในปีงบประมาณ 2562 (ไม่รวมการกันใบเหลื่อมปี)
  • หน่วยที่ 4 การบริหารการเงินและการบัญชี
    • 91. การบันทึกบัญชีเป็นปัจจุบันและจัดทำรายงานการเงินประจำเดือนเสนอผู้บริหารท้องถิ่นได้ในเดือนถัดไป โดยเฉลี่ย
      • บันทึกเสนอรายงานการเงินประจำเดือน
    • 92. การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
      • 1.รายงานประมาณการรายรับ-รายจ่ายจากระบบ e-LAAS ที่เมนูระบบงบประมาณ > อนุมัติเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ
      • 2.รายงานการโอนงบประมาณการโอนเปลี่ยนแปลง/การแก้ไข คำชี้แจงงบประมาณ จากระบบ e-LAAS ที่เมนูระบบงบประมาณ > รายงาน > การโอนเปลี่ยนแปลง/การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณ
    • 93. การดำเนินการรับ และบันทึกข้อมูลในระบบ e-LAAS
      • 1.ตรวจสอบด้านรายรับจากสมุดเงินสดรับ/ทะเบียนรายรับที่บันทึกบัญชีมือ
      • 2.นำไปเปรียบเทียบกับสมุดเงินสดรับ/ทะเบียนเงินรายรับ ที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-LAAS ที่เมนู ระบบข้อมูลรายรับ> สมุดเงินสดรับ/ทะเบียนต่าง ๆ > สมุดเงินสดรับ/ทะเบียนเงินรายรับ
    • 94. การดำเนินการจ่ายเงินและบันทึกข้อมูลในระบบ e-LAAS
      • 1.ตรวจสอบด้านรายจ่ายจากสมุดเงินสดจ่าย
      • 2.นำไปเปรียบเทียบกับสมุดเงินสดจ่ายทะเบียนต่างๆ ที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-LAAS ที่เมนู ระบบข้อมูลรายรับ> สมุดเงินสดจ่าย/ทะเบียนต่างๆ > สมุดเงินสดจ่าย
    • 95. การปิดบัญชีและจัดทำงบแสดงฐานะการเงินประจำปี 2562 ในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS)
      • 1.ตรวจสอบการปิดบัญชีและการจัดทำงบแสดงฐานะการเงินประจำปี พ.ศ. 2562 ในระบบ e-LAAS ที่เมนูระบบบัญชี > รายงานงบการเงิน> รายงานประจำปี > งบแสดงฐานะการเงินและหมายเหตุประกอบ> งบแสดงฐานะการเงิน
      • 2.ตรวจสอบหมายเหตุประกอบงบแสดงฐานะการเงินที่เมนูระบบบัญชี > รายงานงบการเงิน> รายงานประจำปี > งบแสดงฐานะการเงินและหมายเหตุประกอบ> หมายเหตุประกอบงบแสดงฐานะการเงิน
  • หน่วยที่ 5 บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
    • 96. การส่งเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ก.บ.ท.) ประจำปีงบประมาณ 2562 ครบถ้วนถูกต้องตามอัตราและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
      • 1.ประมาณการรายรับตามข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562
      • 2.รายจ่ายบำเหน็จบำนาญฯ (ไม่อนุญาตให้ ถ่ายเอกสาร)2.
    • 97. การจัดส่งเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ย้อนหลัง 5 ปี (ประจำปีงบประมาณ 2558 – 2562)
      • 1.ประมาณการรายรับตามข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562
      • 2.รายจ่ายบำเหน็จบำนาญฯ (ไม่อนุญาตให้ ถ่ายเอกสาร)
  • หน่วยที่ 6 ผลสัมฤทธิ์การบริหารงานการเงินและการคลัง
    • 98. การทักท้วงด้านการพัสดุประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จากหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ
      • 1.ตรวจสอบหลักฐานข้อทักท้วงที่เป็นลายลักษณ์อักษรของ สตง. /จังหวัด/สถ.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      • 2.บันทึกรายงานผลการตรวจสอบภายในประจำปี หรือรายไตรมาสของ อปท.
    • 99. การทักท้วงด้านการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จากหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ
      • 1.ตรวจสอบหลักฐานข้อทักท้วงที่เป็นลายลักษณ์อักษรของ สตง. /จังหวัด/สถ.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      • 2.บันทึกรายงานผลการตรวจสอบภายในประจำปีหรือรายไตรมาสของ อปท.
    • 100. การทักท้วงด้านการจัดเก็บรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จากหน่วยงาน ที่มีหน้าที่ตรวจสอบ
      • 1.ตรวจสอบหลักฐานข้อทักท้วงที่เป็นลายลักษณ์อักษรของ สตง. /จังหวัด/สถ.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      • 2.บันทึกรายงานผลการตรวจสอบภายในประจำปีหรือรายไตรมาสของ อปท.
    • 101. มีการทักท้วงด้านการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จากหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ
      • 1.ตรวจสอบหลักฐานข้อทักท้วงที่เป็น ลายลักษณ์อักษรของ สตง. /จังหวัด/สถ.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      • 2.บันทึกรายงานผลการตรวจสอบภายในประจำปีหรือรายไตรมาสของ อปท.
    • 102. มีการดำเนินการตามข้อทักท้วงของหน่วยที่ตรวจสอบและดำเนินการแจ้งให้ทราบครบ ทุกเรื่อง (ด้านการงบประมาณ/พัสดุ/การเบิกจ่ายเงิน/การจัดเก็บรายได้)
      • 1.ข้อทักท้วงและการดำเนินการตามข้อทักท้วงของ สตง./จังหวัด/บุคลากร สถ. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      • 2.บันทึกรายงานผลการตรวจสอบภายในประจำปีหรือรายไตรมาสของ อปท.